หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง
สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันตก
ภาคใต้
ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ปรัชญา (Philosophy)
ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม
ปณิธาน (Ambition)
พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นแหล่ง วิทยาการแบบตลาดวิชา มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
วิสัยทัศน์ (Vision)
มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นองค์การเรียนรู้ (Learning Organization) ที่มีสมรรถนะสูง (High Organization)
มุ่งผลิตบัณฑิตในอุดมคติไทยที่มีความรู้คู่คุณธรรม
เพื่อสร้างสรรค์สังคมไทยพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลัก ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ความเป็นมาของมหาวิทยาลัยรามคำแหง : 2514 ถึงปัจจุบัน
1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้รับการสถาปนาเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมาตั้งแต่ พ.ศ.2514 ณ บริเวณที่ดินทั้งหมดประมาณ 300 ไร่เศษ ถนนรามคำแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ โดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ.2514 กำหนดให้มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยแบบตลาดวิชา มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
ทำการวิจัย ส่งเสริมวิชาการชั้นสูง และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีกระบวนวิชาที่เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีประมาณ 2,780 กระบวนวิชา ระดับปริญญาโท 771 กระบวนวิชา ระดับปริญญาเอก 156 กระบวนวิชา จัดการเรียน การสอนในหลักสูตรระดับปริญญาตรี 72 สาขาวิชา ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 2สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 73 สาขาวิชา และสาขาวิชาระดับปริญญาเอก 20 สาขาวิชา โดยมีคณะวิชาที่รับผิดชอบ 13 คณะ 1 บัณฑิตวิทยาลัย และสถาบันที่จัดการเรียนการสอน 2 สถาบัน ได้แก่ สถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพและสถาบันการศึกษานานาชาติ
กล่าวได้ว่า ตลอดระยะเวลา 38 ปี มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้พัฒนามาโดยตลอด ทั้งในด้านพัฒนาการวิชาการ พัฒนาสังคม โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ในขณะเดียวกันก็พัฒนาไปตามกระแสโลกาภิวัตน์ทางด้านเทคโนโลยี จนปัจจุบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เปิดการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย อันได้แก่ การสอนทางไกล การเรียนการสอนแบบ
e-learning การสอบด้วยระบบ e-Testing การใช้คอมพิวเตอร์ในงานด้านบริหารและบริการ จนมหาวิทยาลัยได้ก้าวสู่การเป็น e-University ในระดับมาตรฐานสากล
2. เหตุผลที่ตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีสาเหตุมาจากปัญหาการขาดแคลนที่เรียน ในระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย เพราะมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มีสถานที่เรียนจำกัด ไม่สามารถรับผู้ที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ทั้งหมด เนื่องจากมีผู้ที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาแล้วไม่มีโอกาสได้ศึกษาต่อ ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องจัดตั้งมหาวิทยาลัยรามคำแหงขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลที่ประสงค์จะเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยได้เข้ารับการ ศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อเพิ่มพูนวิทยฐานะแก่ผู้ประกอบอาชีพและขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนา คุณภาพของประชาชนทั่วไป โดยเปิดรับสมัครนักศึกษาโดยไม่จำกัดจำนวนและไม่มีการสอบคัดเลือก มีการจัดการเรียนการสอนแต่ไม่บังคับให้มาเข้าชั้นเรียน ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2548 อนุมัติในหลักการให้ยกฐานะมหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัยเป็นมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตสุโขทัย เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดสุโขทัย โดยสภามหาวิทยาลัยรามคำแหงได้อนุมัติให้จัดตั้ง คณะธุรกิจการบริการและคณะสาธารณสุขศาสตร์ขึ้นเป็นส่วนงานภายใน สังกัดมหาวิทยาลัยรามคำแหงวิทยาเขตสุโขทัย
3. คณะ/สำนัก/สถาบันมหาวิทยาลัยรามคำแหงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยรามคำแหงมีหน่วยงานในระดับคณะสำนักและสถาบัน ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการจัดการศึกษาและให้บริการด้านบริหารและวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ
คณะและสถาบันที่จัดการเรียนการสอน มีดังนี้ คณะนิติศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการสื่อสารมวลชน คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันการศึกษานานาชาติ และสถาบันวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สำนักและสถาบันต่างๆ ที่บริการด้านบริหารและวิชาการ มีดังต่อไปนี้ สำนักงานอธิการบดี สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล สำนักหอสมุดกลาง สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักพิมพ์ สำนักกีฬา สถาบันคอมพิวเตอร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา สถาบันศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ สถาบันภาษา ศูนย์สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันกฎหมายไทย สำนักทดสอบทางอิเล็กทรอนิกส์ สำนักวิทยบริการ สำนักงานสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ สำนักงานตรวจสอบภายใน สำนักสหกิจศึกษาและพัฒนาอาชีพ สำนักบริการข้อมูลและสารสนเทศ
และสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค
4. มหาวิทยาลัยรามคำแหง 2 เนื่องจากมหาวิทยาลัยรามคำแหงมีนักศึกษาเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาด้านสถานที่เรียนไม่เพียงพอ มหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงได้เสนอแก้ไขปัญหาการขาดแคลนสถานที่เรียนต่อคณะ รัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติให้มหาวิทยาลัยจัดตั้งวิทยาเขตขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2522 ณ บริเวณที่ดินซึ่งมีผู้บริจาคจำนวน 150 ไร่ ตั้งอยู่ที่แขวงดอกไม้ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ บนถนนสายบางนา-ตราด และมหาวิทยาลัยเปิดใช้วิทยาเขตนี้ เมื่อภาค 1 ปีการศึกษา 2527 เป็นต้นมา โดยใช้เป็นสถานที่สอนกระบวนวิชาชั้นปีที่ 1 ของระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา สำหรับนักศึกษาที่ไม่มีโอกาสฟังคำบรรยายที่มหาวิทยาลัย ซึ่งมีอยู่จำนวนมากทั่วประเทศนั้น มหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการบรรยายสรุป ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
5. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติส่วนภูมิภาค ในปีการศึกษา 2538 มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ส่วนภูมิภาค เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยู่ในภูมิภาคและท้องถิ่นต่าง ๆ มีโอกาสได้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม นำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการดำรงชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการเปิดสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดปราจีนบุรี และต่อมาได้เปิดสาขาวิทยบริการ
เฉลิมพระเกียรติฯ เพิ่มขึ้นอีก จนปัจจุบันมหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติขึ้นแล้วใน 25 จังหวัดทั่วประเทศ โดยเปิดทำการสอนแล้ว 21 จังหวัด ดังนี้
1. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครศรีธรรมราช
2. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุทัยธานี
3. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดปราจีนบุรี
4. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอำนาจเจริญ
5. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครพนม
6. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดแพร่
7. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดนครราชสีมา
8. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย
9. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดขอนแก่น
10. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดศรีสะเกษ
11. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดตรัง
12. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดอุดรธานี
13. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดลพบุรี
14. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดหนองบัวลำภู
15. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดชัยภูมิ
16. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเพชรบูรณ์
17. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดกาญจนบุรี
18. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุรินทร์
19. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดบุรีรัมย์
20. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสงขลา
21. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดเชียงราย
22. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดพังงา
6. สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติต่างประเทศ
มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ขยายการเรียนการสอนสู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้โอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาแก่ปวงชนชาวไทยใน ต่างประเทศทั่วโลก เพื่อนำการอุดมศึกษาไทยสู่สากลอย่างเป็นรูปธรรม ปัจจุบันได้ขยายสู่ 30 ประเทศทั่วโลก ดังนี้
1.ประเทศแคนาดา ณ กรุงออตตาวา นครแวนคูเวอร์
2.ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ กรุงวอชิงตัน ดี ซี นครนิวยอร์ก นครลอสแอนเจลิส นครชิคาโก
3.ประเทศเบลเยี่ยม ณ กรุงบรัสเซลส์
4.ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส
5.ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กรุงเบอร์ลิน นครแฟรงก์เฟิร์ต
6.ประเทศไอซ์แลนด์ ณ กรุงเรคยาวิค
7.ประเทศอิตาลี ณ กรุงโรม
8.ประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ กรุงเฮก
9.ประเทศโปแลนด์ ณ กรุงวอร์ซอ
10.ประเทศสเปน ณ กรุงมาดริด
11.ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ณ กรุงเบิร์น
12.ประเทศออสเตรีย ณ กรุงเวียนนา
13.ประเทศสหราชอาณาจักร ณ กรุงลอนดอน
14.ประเทศเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน
15.ประเทศนอร์เวย์ ณ กรุงออสโล
16.ประเทศสวีเดน ณ กรุงสตอกโฮล์ม
17.ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ ณ กรุงเฮลซิงกิ
18.ประเทศบาห์เรน ณ กรุงมานามา
19.ประเทศรัฐสุลต่านโอมาน ณ กรุงมัสกัต
20.ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ณ เมืองดูไบ
21.ประเทศรัฐกาตาร์ ณ กรุงโดฮา
22.ประเทศออสเตรเลีย ณ กรุงแคนเบอร์รา นครซิดนีย์
23.ประเทศนิวซีแลนด์ ณ กรุงเวลลิงตัน
24.ประเทศกัมพูชา ณ กรุงพนมเปญ
25.ประเทศอินเดีย ณ กรุงนิวเดลี
26.ประเทศอินโดนีเซีย ณ กรุงจาร์กาตาร์
28.ประเทศมาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
29.ประเทศเกาหลีใต้ ณ กรุงโซล
30.ประเทศสิงคโปร์ ณ สิงคโปร์
31.ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ กรุงปักกิ่ง นครกวางโจว เมืองเซี่ยเหมิน
32.ประเทศเวียดนาม ณ นครโฮจิมินห์
33.ประเทศไทย ณ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ
7. การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียมของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้เริ่มขึ้นเป็น ครั้งแรกในปีการศึกษา 2538 โดยได้มีการสอนโดยตรงจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ ไปสู่มหาวิทยาลัยรามคำแหงสาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ
ส่วนภูมิภาค 3 จังหวัด คือ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มแรกได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี โดยใช้ Video Conferencing System ผ่านดาวเทียมไทยคมในย่านความถี่ C-Band โดยกระจายสัญญาณทิศทางเดียวไปยังสาขาวิทยบริการในส่วนภูมิภาค นักศึกษาที่เรียนอยู่ในห้องเรียนสามารถสอบถามและขอคำอธิบายเกี่ยวกับการ เรียนการสอนผ่านระบบโทรศัพท์ และโทรสารมายังอาจารย์ผู้สอนได้ ในปีการศึกษา 2539 มหาวิทยาลัยได้พัฒนาเทคโนโลยีการเรียนการสอนทางไกล โดยใช้เทคโนโลยีการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์โดยตรงสู่ห้องเรียนต่าง ๆ ในระบบ (Direct To Home Broad Casting) ผ่านดาวเทียมไทยคมย่านความถี่ Ku-Band ซึ่งปัจจุบันออกอากาศผ่านทางไทยสกายเคเบิ้ลทีวี ช่อง 10 นอกจากการใช้เทคโนโลยีสื่อสารแล้ว มหาวิทยาลัยยังได้จัดให้อาจารย์ไปบรรยายสรุป ณ สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำทุกวันเสาร์และอาทิตย์ เพื่อให้นักศึกษาในส่วนภูมิภาคได้พบและขอคำปรึกษาจากอาจารย์ได้ และวันที่ 3 ตุลาคม 2539 มหาวิทยาลัย ได้เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ณ สาขาวิทยบริการ 4 จังหวัด คือ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดอำนาจเจริญ
ในการเรียนการสอนระดับปริญญาโทในส่วนภูมิภาคนั้น อาจารย์ผู้สอนจะเดินทางไปสอนที่สาขาวิทยบริการฯ ต่าง ๆ หมุนเวียนกันไปทั้ง 4 จังหวัด เมื่ออาจารย์ไปบรรยายที่สาขาวิทยบริการฯ ใดก็จะทำการถ่ายทอดภาพและเสียงการบรรยายไปยังสาขาวิทยบริการฯ อื่น ๆ โดยใช้ Video Conferencing System ผ่านสัญญาณดาวเทียมไปสู่ห้องเรียน ด้วยวิธีนี้จะทำให้นักศึกษาจากทุกสาขา วิทยบริการฯ ได้รับฟังการบรรยายจากอาจารย์ผู้สอนพร้อมกันในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนยังสามารถสื่อสารโต้ตอบกับนักศึกษาจากทุกสาขาวิทย บริการฯในลักษณะของการสื่อสารสองทาง (Two Way Communication) ได้อีกด้วย
ปรัชญา :
” ส่งเสริมความเสมอภาคทางการศึกษา ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม “
ปณิธาน :
” พัฒนามหาวิทยาลัยรามคำแหงให้เป็นแหล่งวิทยาการแบบตลาดวิชาควบคู่แบบจำกัดจำนวน มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม และจิตสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม “
วิสัยทัศน์ :
” มหาวิทยาลัยรามคำแหงเป็นสถาบันหลักที่มุ่งขยายโอกาสทางการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้พัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน “
ค่านิยมองค์การ :
” ซื่อสัตย์ จริงใจ โปร่งใส ยุติธรรม และภักดีต่อองค์กร “
พันธกิจ :
1. สนับสนุนและส่งเสริมกระจายโอกาส ความเสมอภาคและความเป็นธรรมทางการศึกษาหลากหลายรูปแบบและหลากหลายสาขาวิชา ในลักษณะการศึกษาเพื่อปวงชนให้มีความรู้คู่คุณธรรม
2. สนับสนุนและส่งเสริมการวิจัย และพัฒนางานสร้างสรรค์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์
3. สนับสนุนและส่งเสริมการบริการทางวิชาการแก่สังคม แก่ประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
4. สนับสนุนและส่งเสริมการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
5. สนับสนุนและพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในประชาคมอาเซียน
6. ส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการตามแนวทางของการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
7. สนับสนุนและส่งเสริมการให้ความรู้และบริการทางด้านสุขภาพแก่สังคม
หมายเลขโทรศัพท์ที่นักศึกษาควรทราบในการขอใช้บริการของมหาวิทยาลัยรามคำแหง
ชื่อหน่วยงาน
1. งานบัตรประจำตัวนักศึกษา
2. งานเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล, ลาออก และย้ายคณะ
3.งานลงทะเบียนเรียนส่วนกลาง
4.งานลงทะเบียนเรียนทางไปรษณีย์ , ส่วนภูมิภาค
5.งานรักษาสถานภาพการเป็นนักศึกษา
6.งานรับสมัครเป็นนักศึกษาใหม่ส่วนกลาง, และทาง Internet
7.งานสมัครสอบส่วนภูมิภาค
8. งานแนะแนวการศึกษา (สวป.)
9. งานบริการ One Stop Service (KLB)
10. งานจัดทำตารางสอบไล่รายบุคคล
11.งานประมวลผลการศึกษา (Transcript)
12.งานหนังสือรับรองการเป็นนักศึกษา , ปริญญาบัตร
13.งานจัดหางาน , งานแนะแนวการศึกษา
14.งานทุนการศึกษากองกิจการนักศึกษา
15.งานตำราเรียน (สำนักพิมพ์)
16.งานเทปคำบรรยาย (สำนักเทคโนฯ)
17.สอบถามผลสอบทางคอมพิวเตอร์
18.เบอร์กลางมหาวิทยาลัยรามคำแหง (หัวหมาก)
19.สำนักทดสอบการอิเล็กทรอนิกส์ (E-testing)
20.ติดต่อเกี่ยวกับข้อมูลการเทียบโอนหน่วยกิต
คณะนิติศาสตร์ : 02-3108170, 02-3108174
คณะบริหารธุรกิจ : 02-3108226-7
คณะมนุษยศาสตร์ : 02-3108269
คณะสื่อสารมวลชน : 02-3108980
คณะศึกษาศาสตร์ : 02-3108315, 02-3108321
คณะวิทยาศาสตร์ : 02-3192199, 02-3108410-1
คณะรัฐศาสตร์ : 02-3108466-7
คณะเศรษฐศาสตร์ : 02-3108534
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ : 02-3108547
หมายเลขโทรศัพท์
02-3108605
02-3108606
02-3108610
02-3108616
02-3108626
02-3108615, 02-3108623
02-3108624
02-3108614
02-3108890
02-3108611
02-3108603
02-3108604
02-3108126
02-3108080
02-3108757-9 ต่อ 1101, 1103
02-3108703-6
02-3106000
02-3108000
02-3108790